วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาเมืองพัทลุง

                                         ประวัติความเป็นมาเมืองพัทลุง



พัทลุง เมืองเก่าแก่ที่ถูกบันทึกไว้ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และคำบอกเล่าสืบกันมาทั้งในโบราณและนิยาย และประจักษ์พยานที่เป็นโบราณสถาน ศิลปวัตถุ ที่มีอายุร่วมยุคสมัยศิลปศรีวิชัย หรือราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยเฉพาะแหล่งโบราณที่ยังคงเหลือไว้เป็นมรดกคู่บ้านคู่เมืองพัทลุงอันล้ำค่ายิ่ง

พัทลุง ยังเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อน ซึ่งมีหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุด คือ การค้นพบเครื่องมือหินกระเทาะที่ใกล้ๆ ถ้ำพระ เขาชัยบุรี ซึ่งอาจมีอายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีน หรือสมัยไอโลซีน หลักฐานที่เก่าแก่รองลงมาคือ การค้นพบเครื่องมือ เครื่องใช้ของมนุษย์ยุคใหม่ ที่ถ้ำและเพิงหินเขาเจียก โครงกระดูกมนุษย์และเครื่องปั้นดินเผาที่เขาลำเลียง อำเภอเมืองพัทลุง นอกจากนี้ยังพบขวานหินขัดสมัยหินใหม่ กระจายอยู่ในเกือบทุกฟื้นที่ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระจายออกไป โดยสันนิษฐานว่าชุมชนเหล่านี้ ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก โดยเฉพาะชาวอินเดียกับชาวจีน และการพัฒนาร่วมสมัยกับชุมชนทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลา ดังเช่นการค้นพบพระพิมพ์ดินดิบที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระผีทำ" ซึ่งสร้างขึ้นตามคติทางพุทธศาสนาแบบมหาหยาน จำนวนมากที่ภ้ำคูหาสวรรค์ ถ้ำมาลัย และถ้ำเขาอกทะลุ นอกจากนี้ยังพบรูปพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมหล่อด้วยสำริดที่บ้านแร่ และบริเวณวัดเขียนบางแก้ว



ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
มีถิ่นกำเนิดจาก จ.พัทลุง มานับร้อยปี
เป็นข้าวจีไอเพียงชนิดเดียวของประเทศไทย
เพราะมีถิ่นเพาะปลูกบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุอาหารจากดิน น้ำ และอากาศที่เอื้ออำนวย
ต่อการกำเนิดพันธุ์ข้าวที่ดี่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

 ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้ไปปรากฎชื่อเมืองพัทลุงในกฎหมายพระอัยการนา ทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998 ระบุว่าเมืองพัทลุงเป็นเมืองตรี ที่ตั้งเมืองพัทลุงในระยะเริ่มแรกนั้นเชื่อกันว่าตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ต่อมาถูกสลัดอาเจียอารูจากสุมาตราและสลัดอุยังตนัก จากแหลมมลายูเข้ามาปล้นสดมภ์และกวาดต้อนผู้คนเนืองๆจากนั้น ในรัฐการพระเจ้าทรงธรรม ตาตูมมรหุ่ม แขกอิสลามที่อพยพมาจากเมืองสาใสในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสุลต่าน สุไลมานแห่งเมืองสงขลา ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานถ้าขาย ณ หัวเขาแดง ได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุงและย้ายเมืองสงขลาจากสทิงพระมายังหัวเขาแดงซึ่งมีชัยภูมิป้องกันตนเองได้ดีกว่า ต่อมาในสมัยสุลต่านสุไลมานบุตรเขยตูมรหุ่ม ได้สร้างความรุ่งเรืองให้แก่เมืองที่หัวเขาแดงเป็นอันมาก และได้ส่งฟาริซีน้องชายซึ่งเป็นปลัดเมืองมาสร้างเมืองใหม่ที่เขาชัยบุรี เพื่อป้องกันศัตรูที่จะมาโจมตีเมืองสงขลาทางบก ภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง และได้ย้ายเมืองพัทลุงออกจากเมืองสงขลา ตั้งแต่นั้นและตั้งเมืองอยู่ที่เขาชัยบุรีตลอดมา จนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยา เมือปี พ.ศ. 2310

Sangyod GABA Rice Drink
ทำจากข้าวกล้องสังข์หยดพัทลุงเพาะงอก
ผลิตภัณฑ์จากจ.พัทลุง
เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพที่ดีและรสชาติอร่อย
เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว

ระหว่างสมัยกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีการโยกย้ายสถานที่ตั้งเมืองพัทลุงหลายครั้ง และได้ยกเป็นเมืองชั้นโทในรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในรัชกาลนี้เองที่พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ารวบรวมไพร่พลจำนวนถึง 144,000 คน จัดเป็นกองทัพใหญ่ 9 ทัพ ยกเข้ามาตีราชอาณาจักรไทย ทัพหนึ่งมอบให้แกงหวุ่นแมงยีเป็นแม่ทัพตีได้เมืองกระบุรี ระนอง ชุมพร ไชยาและนครศรีธรรมราช ตามลำดับ และขณะที่กำลังจัดไพล่พลอยู่ที่นครศรีธรรมราช เพื่อจะยกมาตีเมืองพัทลุง และสงขลานั้น พระยาพัทลุง โดยความร่วมมือของพระมหาช่วยวัดป่าเลไลยก์ รวบรวมไพล่พลได้ประมาณ 1,000 คน ยกออกไปตั้งขัดตาทัพที่คลองท่าเสม็ด จนกระทั่งสมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ ทรงยกกองทัพมาช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีกองทัพพม่าแตกหลบหนีไป จึงโปรดเกล้าให้ลาสิกขาบทแล้วแต่งตั้งให้เป็น "พระยาทุกขราษฎร์" ผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง


น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด 100%
จากข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
ใช้วิธีสกัดเย็น
ไม่ใส่สี กลิ่น หรือสารเคมีใดๆทั้งสิ้น
ค่าแกมมา-โอริซานอลสูงกว่าน้ำมันรำข้าวชนิดอื่นๆ
 คือ 28,700 ppm. ซึ่งสูงโดยธรรมชาติของข้าวสังข์หยด
เพราะข้าวสังข์หยดเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก
จนกระทั่งคนเฒ่าคนแก่เมืองลุง บอกว่าเป็น ยาอายุวัฒนะ

ครั้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นในปี พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาและหัวเมือง ปัตตานี เฉพาะในส่วนของเมืองพัทลุง ซึ่งในขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ ถูกจัดให้ขึ้นอยู่กับมณฑลนครศรีธรรมราช โดยแบ่งพัทลุงออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร และอำเภอทักษิณ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้ย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการคมนาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 เมื่อยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงทำให้พัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดเป็นต้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น